8:00 - 17:00

Mon - Sat

others_500x500
others4_500x500

Our Product

กลุ่มสารเคมีบำบัดน้ำอื่นๆ

1. โพลิเมอร์ ประจุลบ


✔ บจก.ไทย พีเอซี อินดัสตรี นำเข้าโพลิเมอร์ประจุลบจากประเทศจีน โพลิเมอร์ประจุลบ เป็นสารที่มีน้ำหนักโมเลกุลมาก ใช้ช่วยทำให้ขนาดตะกอนใหญขึ้นอย่างรวดเร็ว มีน้ำหนักมากจนตกตะกอนได้เร็วขึ้น

✔ ในระบบการผลิตน้ำประปาเดิมที่ใช้สารส้มเป็นสารตกตะกอน เมื่อน้ำขุ่นมาก (ความขุ่นมากกว่า 100 NTU) ต้องใช้ปูนขาวหรือโซดาไฟ ช่วยสร้างตะกอน และใช้โพลิเมอร์ประจุลบช่วยตกตะกอนอีกด้วย แต่ถ้าใช้พีเอซีชนิดเหลว ไม่จำเป็นต้องใช้ทั้งปูนขาว โซดาไฟ และโพลิเมอร์ประจุลบ

✔ กรณีต้องการเพิ่มปริมาณน้ำประปาให้มากขึ้น 200-300% ของ capacity ของระบบประปา โดยไม่เพิ่มถังตกตะกอน (CLARIFIER) สามารถใช้พีเอซีชนิดเหลว คู่กับโพลิเมอร์ประจุลบได้

✔ โพลิเมอร์ประจุลบ ใช้คู่พีเอซีชนิดเหลว ในการแยกเยื่อกระดาษตกตะแกรง แล้วนำกลับมาใช้ใหม่ได้

✔ โพลิเมอร์ประจุลบ ใช้คู่กับพีเอซีชนิดเหลว สำหรับบำบัดน้ำเสียในระบบบำบัดน้ำเสีย เพื่อลด TSS


2. โพลิเมอร์ ประจุบวก


✔ บจก.ไทย พีเอซี อินดัสตรี สามารถจัดหาโพลิเมอร์ประจุบวก จากผู้นำเข้าจากประเทศจีนและอินเดีย

✔ โพลิเมอร์ประจุบวก ใช้ในการรีดตะกอน หลังแยกน้ำที่ผ่านการบำบัดน้ำเสียแล้ว บางครั้ง ใช้ช่วยกำจัดสีในนำเสียด้วย


others2_500x500
others3_500x500

3. โซดาไฟน้ำ 50%


✔ บจก.ไทย พีเอซี อินดัสตรี รับโซดาไฟน้ำ 50% จากตัวแทนจำหน่ายของผู้ผลิตในประเทศไทย โซดาไฟน้ำ 50% คือ โซเดียมไฮดร็อกไซด์ (SODIUM HYDROXIDE, NaOH) มีความเข้มข้น 50% w/w เป็นของเหลว ใช้ปรับpHของน้ำดิบ ก่อนเข้าระบบผลิตน้ำประปาในพื้นที่ดินเปรี้ยวซึ่งทำให้น้ำเป็นกรด หรือใช้หลังตกตะกอนได้น้ำใสแล้วแต่น้ำเป็นกรด

✔ โซดาไฟน้ำ 50% ใช้คู่สารส้มในการสร้างตะกอน ในน้ำขุ่นที่มีค่าความเป็นด่าง (alkalinity) ไม่เพียงพอ เนื่องจากสารส้มแตกตัวในน้ำได้ Al3+ กับ SO42- ซึ่งประจุ Al3+ จะไม่สร้างตะกอน จำเป็นต้องรวมกับความเป็นด่าง OH-ในน้ำดิบ ให้ได้ประจ Al(OH)2+ และ Al(OH)2+ จึงจะสามารถสร้างตะกอนได้ เช่น กรณีที่น้ำดิบมีความขุ่นมาก จะใช้สารส้มมาก แล้วความเป็นด่าง OH-มักจะไม่พอ จึงจำเป็นต้องเติมโซดาไฟเพื่อช่วยสร้างตะกอน

✔ โซดาไฟน้ำ 50% ใช้ตกตะกอนโลหะหนัก ในระบบบำบัดน้ำเสียที่มีโลหะหนักปนเปื้อนสูง เช่น โรงเหล็ก โรงประกอบรถ แบตเตอร์รี่ เป็นต้น โดยจับกับโลหะหนักได้โมเลกุลเป็น XOH แยกตัวเป็นวุ้นออกมาจากน้ำ ผู้ใช้งานมักจะใช้โซดาไฟปรับ pH น้ำเสียที่ 8.5-9 เพื่อโลหะหนักจะตกออกได้หมด และจะเหลือโซดาไฟส่วนเกิน ละลายในน้ำเสีย เมื่อใส่สารตกตะกอนกับโพลิเมอร์ประจุลบเพื่อแยกตะกอนออก โซดาไฟส่วนนี้ ทำปฏิกิริยากับสารตกตะกอน ทำให้สิ้นเปลืองสารตกตะกอนมาก

✔ โซดาไฟน้ำ 50% ใช้ล้างเรซิ่นประจุลบ ของถังกรองน้ำ DEMIN. ที่แยกประจุลบและบวก

✔ โซดาไฟน้ำ 50% ใช้ทำความสะอาดท่อน้ำทิ้งอุดตัน


4. คลอรีนน้ำ 10%


✔ บจก.ไทย พีเอซี อินดัสตรี รับคลอรีนน้ำ 10% จากตัวแทนจำหน่ายของผู้ผลิตในประเทศไทย

✔ คลอรีนน้ำ 10% คือ โซเดียมไฮโปคลอไรท์ (SODIUM HYPOCHLORITE, NaOCl) มี available Cl 10% w/w เป็นสารละลาย เกิดจากการสเปรย์โซดาไฟน้ำจับกับก๊าซคลอรีน ความเข้มข้นของคลอรีนน้ำ จะไม่เสถียรในอุณหภูมิห้องของประเทศไทย (32+/-2C ปี 2564) พบว่าความเข้มข้นจะลดลงอย่างน้อย 0.1% แม้จะเก็บในที่ไม่โดนแสงแดด ผู้ใช้จึงต้องใส่ใจดูแลเรื่องการจัดเก็บมากหน่อย ไม่ควรสต็อกสินค้ามากเกินจำเป็น

✔ คลอรีนน้ำ 10% ใช้ฆ่าเชื้อโรคในน้ำใส หลังตกตะกอนและจัดเก็บในถังเก็บน้ำใส โดยใช้ประมาณ 0.7-1.0 ppmCl

✔ คลอรีนน้ำ 10% ใช้ขนาด 0.1 ppmCl เพื่อช่วยทำลายปล้องสาหร่ายในน้ำดิบ ก่อนการตกตะกอน ในช่วงที่น้ำดิบมีความขุ่นไม่สูงหลังฝนหยุดตก (พย.-เมย)

✔ คลอรีนน้ำ 10% ใช้ผสมเป็นยาฆ่าเชื้อโรคในช่วง COVID-19 ระบาด สเปรย์พื้นที่เสี่ยง/ล้างอุปกรณ์ เครื่องมือ โดยมีความเข้มข้นประมาณ 250-400 ppmCl







5. กรดเกลือ 18%/35%


✔ บจก.ไทย พีเอซี อินดัสตรี รับกรดเกลือ 18% จากผู้ผลิตเม็ดพลาสติกพีวีซีรายใหญ่ในนิคมมาบตาพุด จ.ระยอง และรับกรดเกลือ 35% จากตัวแทนจำหน่ายของผู้ผลิตในประเทศไทย

✔ กรดเกลือ 18% และกรดเกลือ 35% คือ กรดไฮโดรคลอริก (HYDROCHLORIC ACID, HCl) มีความเข้มข้น 18% w/w และ 35% w/w เป็นสารละลาย เกิดจากการสเปรย์น้ำจับกับก๊าซคลอรีน กรดเกลือมีความเสถียรมาก แต่มีกลิ่นฉุนมากและมีแรงดันก๊าซ ดูน่ากลัวแต่อันตรายน้อยสุด เมื่อเทียบกับกรดแก่อื่นๆ (กรดซัลฟูริก (H2SO4), กรดไนตริก (HNO3), กรดฟอสฟอริก (H3PO4)

✔ กรดเกลือ 35% ถ้าคิดเป็นความเข้มข้นแบบ MOLAR จะได้ 350*1.18/36.5 = 11.3 M/l แบบ NORMAL จะได้ 11.3/1 = 11.3 NORMAL เมื่อเทียบกับกรดซัลฟูริก 98% ที่คิดเป็นความเข้มข้นแบบ MOLAR จะได้ 980*1.84/98 = 18.4M/l แบบ NORMAL จะได้ 18.4/2 = 9.2 NORMAL จะเห็นว่ากรดเกลือ 35% เข้มข้นกว่ากรดซัลฟูริก 98%

✔ กรดเกลือ 18%/35% ใช้ล้างเรซิ่นประจุลบ ของถังกรองน้ำ DEMIN. ที่แยกประจุลบและบวก โดยเจือจางความเข้มข้นของกรดเกลือเหลือประมาณ 9%

✔ กรดเกลือ ใช้ในอุตสาหกรรมเหล็ก เพื่อกัดสนิมเหล็กก่อนที่จะชุบด้วยสังกะสี

✔ กรดเกลือ ใช้ปรับค่า pH ในระบบบำบัดน้ำเสีย

✔ กรดเกลือ ใช้ทำความสะอาดห้องน้ำ โดยเจือจางความเข้มข้นเป็น 8% 13% และ 18%